มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เวลาอันทรงคุณค่ายิ่ง
มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า “เอสุการี” พระองค์มีปุโรหิตเป็นสหายรักตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ทั้งพระราชาและปุโรหิตต่างไม่มีพระโอรสที่จะสืบสกุล วันหนึ่ง พระราชาและปุโรหิตปรึกษาหารือกันว่า ถ้าหากบุตรของใครเกิดก่อน บุตรของคนนั้นจะได้ครอบครองราชสมบัติ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๓ )
"ระหว่างพระพุทธเจ้ากับท่านอุรุเวลกัสสปะ ใครหนอจะมีอานุภาพมากกว่ากัน" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของชาวเมือง จึงตรัสถามท่านว่า "ดูก่อนกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน หมู่ชฎิลผู้ผ่ายผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ ละไฟที่เคยบูชาเสียเล่า ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงมาประพฤติพรหมจรรย์กับเรา"
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ผลแห่งการฟังธรรม
การบรรลุธรรมต้องอาศัยการสั่งสมความ รู้ คู่กับความบริสุทธิ์ ซึ่งเราจะบริสุทธิ์ได้ด้วยใจที่หยุดนิ่ง และลงมือปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เมื่อปฏิบัติถูกส่วนก็จะเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังนั้นการฟังธรรมแม้จะเป็นบทเดิมๆ แต่ธรรมะทุกบทสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ และจะเป็นพลวปัจจัยส่งเสริมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ทางแห่งความเสื่อม
การดำรงตนให้หนักแน่น มั่นคงอยู่บนความเป็นมงคลนั้น ย่อมนำสิ่งที่ดีมาให้กับชีวิตของเรา มงคล แปลว่า เหตุแห่งความเจริญ หากรู้เช่นนี้แล้ว เราจะเป็นผู้ที่ห่างไกลจากเหตุแห่งความเสื่อม ทางแห่งความเสื่อมนี้ เคยมีคนสงสัยเหมือนกันว่า ผู้ที่เสื่อมกับผู้ที่เจริญนั้น พวกเขาดำรงตนอยู่บนเส้นทางเช่นไร
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๓)
พระราชาจึงตรัสถามนายคามณิจันท์ว่า "แล้วความจริงมันเป็นอย่างไรล่ะ ท่านจงเล่ามาซิ" เขาได้เล่าเรื่องราว ทั้งหมดไปตามความเป็นจริง ตั้งแต่ที่ยืมโคไปแล้ว จนเอามาส่งคืน แต่ยังไม่ได้บอกเจ้าของเพราะเจ้าของโคกับภรรยากำลังทานข้าวอยู่ และเจ้าของก็เห็นแล้วว่า โคเข้าบ้านไปแล้ว แต่ตอนที่โคหายไปนั้น หายไปตอนกลางคืน ซึ่งไม่รู้ว่าใครขโมยไป ส่วนพระราชาจะตัดสินอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - อบรมตนมุ่งสู่ทางสวรรค์
ผู้คนมากมายซึ่งต่างไม่ปรารถนาจะให้พระราชาออกผนวช พากันยื่นข้อเสนอมากมาย แต่พระองค์ไม่ได้ทรงยินดีกับสิ่งเหล่านั้น ยังคงมีพระทัยมุ่งมั่นที่จะเสด็จออกบรรพชาให้ได้ พระองค์ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจว่า "ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของน้อยนิด ดุจน้ำที่อยู่ในโคลน เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินเช่นนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาท
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทาน คือ เสบียงสู่ความหลุดพ้น
วันหนึ่งพระเจ้าเภรุวมหาราชทอดพระเนตรโรงทานของพระองค์ ทรงดำริว่า ปฏิคาหก ผู้รับทานของเรานี้ ล้วนเป็นผู้ทุศีล บริโภคทานแล้วไม่ทำให้จิตใจของทายกยินดีเลย ทำอย่างไรหนอเราจึงจะได้เนื้อนาบุญ เราปรารถนาจะถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๖)
ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลายในกาลก่อน กว่าที่ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น ต้องชิงช่วงชีวิตในการสร้างบารมี เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในขณะที่ผู้อื่นประมาทอยู่ เป็นผู้ตื่นอยู่ในขณะที่ผู้อื่นหลับใหล การสร้างบารมีแบบชิงช่วงนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยกำลังใจอันสูงยิ่ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ประพฤติพรหมจรรย์
เพียงตัดสินใจออกบวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์แค่ไม่กี่ปี ยังเป็นเหตุให้ท่านได้ทิพยสมบัติมากมาย และได้ครอบครองยาวนานถึงเพียงนี้ การประพฤติพรหมจรรย์ คือ การประพฤติอันประเสริฐ ไม่ใช่ต้องออกบวชเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พรหมจรรย์มีอยู่หลายระดับด้วยกัน แล้วแต่ใครจะสะดวกประพฤติพรหมจรรย์ในระดับไหน ตั้งแต่พรหมจรรย์ขั้นต้นสำหรับผู้ครองเรือน ก็ให้พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น ไม่ให้นอกใจภรรยาหรือสามี มีศีล๕ เป็นปกติ
วัดสำแล
วัดสำแลเป็นวัดรามัญตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านกระแชงอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่เศษ ชาวมอญที่อพยพมาเมื่อครั้งต้นรัตนโกสินทร์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น